Peripheral extremities alignment during Pilates exercise: Based on biomechanical assessment
The purpose of this workshop is to introduce the principle of biomechanics into the movement of peripheral joints in Pilates workout. This will provide the better understanding about mechanism of peripheral joints for instructors / trainers to be able to analyze the classification of each joint in order to arrange the posture in a safe position to prevent injuries while working out and to achieve most effective result.
Course details
Course Name |
Peripheral extremities alignment during Pilates exercise: Based on biomechanical assessment |
Period |
27 April 2023 — 28 April 2023 |
Course language |
Thai |
Course fee |
THB 6,900 |
Location |
Pilates Plus Bangkok, Thailand |
Lecturer |
Asst. Prof. Nongnapas Charoenpanich, Ph.D |
Course times
Weekday |
Date |
Time |
Thursday |
27 April 2023 |
09:00 – 16:00 |
Friday |
28 April 2023 |
09:00 – 16:00 |
หลักการและเหตุผล
การออกกำลังกายแบบ Pilates เป็นการออกกำลังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นรูปแบบที่สามารถออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยมีหลักการออกกำลังกาย 5 ด้าน ได้แก่ การหายใจ ตำแหน่งของเชิงกราน ตำแหน่งของซี่โครง การเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก และตำแหน่งของศีรษะ และกระดูกสันหลังส่วนคอ การควบคุมตำแหน่งของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ขณะออกกำลังกายแบบ Pilates นั้น ส่งผลให้ท่าออกกำลังกาย Pilates เป็นท่าทางที่ทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนทำงานได้อย่างเต็มที่ เสริมทั้งความยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ร่วมกับความมั่นคงของข้อต่อ จึงสามารถออกกำลังกายได้ทุกเพศ ทุกวัย
อย่างไรก็ตาม พบว่าท่าทางการออกกำลังกายแบบ Pilates นี้ ในบางท่าทาง หากผู้ออกกำลังกายไม่พร้อม อาจส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากกล้ามเนื้อที่สำคัญในการควบคุมท่าทางมีความยืดหยุ่นไม่เพียงพอ หรือมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ หรืออาจจะมีการยึดติดของเนื้อเยื่อบางส่วนของข้อต่อต่าง ๆ หรืออาจมีอาการบาดเจ็บของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวตามท่าทางที่ถูกต้อง จึงส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการออกกำลังกายได้
ดังนั้น หากผู้ฝึกสอน หรือผู้ออกกำลังกายเข้าใจรูปแบบการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เบื้องต้น จะสามารถบังคับท่าทางขณะเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง เคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่ก่อให้เกิดความเครียดในข้อต่อ อยู่ในท่าทางที่กล้ามเนื้อมัดใหญ่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่โดยใช้แรงน้อยที่สุด ก็จะสามารถส่งผลให้ได้รับผลดีจากการออกกำลังกายแบบ Pilates ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้น จะอยู่บนพื้นฐานของกายวิภาคศาสตร์ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเคลื่อนไหวบนหลักการของชีวกลศาสตร์ที่ใช้ในการอธิบายการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จากหลักการออกกำลังกายแบบ Pilates ทั้ง 5 ด้านนี้ ตำแหน่งของเชิงกราน และการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก ซึ่งจะส่งผลต่อตำแหน่งของศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นหลักการพื้นฐานที่สามารถสังเกตได้ง่ายกว่า รูปแบบการหายใจและตำแหน่งของซี่โครง เนื่องจากเป็นส่วนใหญ่ของร่างกาย มีองศาการเคลื่อนไหวมากสามารถสังเกตได้ง่ายกว่า การอบรมในครั้งนี้จึงตั้งใจนำหลักการทางชีวกลศาสตร์มาแนะนำการสังเกตท่าทางการเคลื่อนไหวของรยางค์แขนและขา เพื่อเป็นจุดสำคัญในการสังเกตท่าทางขณะออกกำลังกายแบบ Pilates เพื่อให้สามารถจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่กำหนดได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของข้อต่อต่าง ๆ ขณะออกกำลังกาย และเพื่อให้เกิดผลดีต่อการออกกำลังกายมากที่สุด
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ทราบถึงกายวิภาคของรยางค์แขนและขา
- เพื่อให้เข้าใจหลักการเคลื่อนไหวของข้อต่อรยางค์แขนและขา ได้แก่ ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า
- เพื่อให้ทราบจุดสังเกตของการเคลื่อนไหวของรยางค์แขน และขา ขณะออกกำลังกายแบบ Pilates
- เพื่อให้ทราบข้อห้ามและข้อควรระวังของการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ ขณะออกกำลังกาย เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องได้
กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย
ผู้ฝึกสอน Pilates ผู้ออกกำลังกายแบบ Pilates และ ผู้สนใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ทราบกายวิภาคของรยางค์แขน ขา ของร่างกาย
- ทราบกลไกการเคลื่อนไหวของข้อต่อในรูปแบบต่าง ๆ
- ทราบจุดสังเกตของท่าทางการเคลื่อนไหว เพื่อบอกตำแหน่ง และทิศทางการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องได้
- สามารถวิเคราะห์ความถูกต้องของท่าทางการออกกำลังกายแบบ Pilates ได้
27 เมษายน 2566 |
|
|
เวลา |
วิทยากร |
หัวข้อ |
8.15 – 9.00 |
ลงทะเบียน |
|
9.00 – 10.30
|
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Anatomy and Biomechanics of Shoulder joint |
10.30 -10.4 |
Break |
|
11.00-12.00 |
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Precaution of shoulder movement during Pilates exercise |
12.00 – 13.00 |
Lunch |
|
13.00 – 14.15
|
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Anatomy and Biomechanics of Elbow joint, Wrist, and hand |
14.15 – 14.30 |
Break |
|
14.30 – 16.00
|
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Laboratory and Discussion: Biomechanical assessment during Pilates Exercise I |
28 เมษายน 2566 |
|
|
เวลา |
วิทยากร |
หัวข้อ |
8.30 – 9.00 |
ลงทะเบียน |
|
9.00 – 10.30 |
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Anatomy and Biomechanics of Lumbo-Pelvic-Hip complex |
10.30 -10.45 |
Break |
|
10.45-12.00 |
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Precaution of Lumbo-Pelvic-Hip complex during Pilates exercise |
12.00 -13.00 |
Lunch |
|
13.00 – 14.15 |
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Anatomy and Biomechanics of Knee joint, Ankle, and Foot |
14.15 – 14.30 |
Break |
|
14.30 – 16.00 |
ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช |
Laboratory and Discussion: Biomechanical assessment during Pilates Exercise II |
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช
อาจารย์ประจำแขนงวิชา: การเสริมสร้างสมรรถนะทางกีฬา (Sports Performance Enhancement)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด)
วิทยาศาสตร์มาบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การออกกาลังกาย)